วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
หรือ ระบบเครือข่าย (Network) ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่มีความสามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้   โดยติดต่อผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่นๆ ได้แก่ โมเด็มไมโครเวฟสัญญาณอินฟราเรด 

องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เน็ตเวิร์คการ์ด 
            เน็ตเวิร์คการ์ดเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC (Network Interface Card) หรือบางทีเรียกว่า แลนการ์ด (LAN Card) อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้

สายสัญญาณ
ปัจจุบันมีสายสัญญาณที่ใช้เป็นมาตรฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่  3 ประเภท คือ
  1. สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)



  2. สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs)
                                                    
  3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)

                                                    
อุปกรณ์เครือข่าย
ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องจำนวนมากเข้าด้วยกันในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยที่ฮับจะมีพอร์ต (Port) หรือช่องสำหรับต่อสาย RJ-45 เข้ามาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการกระจายข้อมูล ไปยังเครื่องอื่นๆ
สวิตช์(Switch)  เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายลักษณะเดียวกับฮับและมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่วงจรการทำงานภายในจะใช้หลักการของวงจรสวิตชิ่งที่สลับการส่งข้อมูลในแต่ละพอร์ตไปมา ไม่ได้แบ่งช่องทางการส่งผ่านข้อมูลเหมือนฮับจึงทำให้แต่ละพอร์ตมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่าฮับ
รีพีตเตอร์(Repeater)  เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิล 2 เส้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย จากนั้นสัญญาณข้อมูลจะถูกดูดกลืนไปตามสายทำให้สัญญาณข้อมูลอ่อนลง หากต้องการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายออกไปไกลเกินกว่าสายสัญญาณที่ใช้จะรองรับได้จะต้องใช้รีพีตเตอร์ช่วยในการขยายสัญญาณข้อมูล
บริดจ์(Bridge)  เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่งข้อมูลแบบแพร่กระจาย ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่ายบริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป 
เราท์เตอร์(Router)  เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายซึ่งทำหน้าที่เสมือนสะพานสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่น หรือระบบเครือข่าย LAN (Local Area Network) เข้ากับระบบเครือข่าย WAN (Wide Area Network) ขนาดใหญ่ 
เกตเวย์(Gateway)  เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อนมากกว่าเราท์เตอร์หรือบริดจ์ เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลใน Data link และ Network Layer ที่แตกต่างกันได้มากกว่า 2 ระบบ การทำงานของเกตเวย์ทุกระดับชั้นจะเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/OSI Model เกตเวย์สามารถเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง หรือเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลในโปรแกรมประยุกต์ได้
โปรโตคอล (Protocol)  เป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า โปรโตคอลเป็น ภาษา ที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสื่อสารกันจำเป็นที่ต้องใช้ ภาษา หรือโปรโตคอลเดียวกัน เพราะไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะสื่อสารกันไม่ได้ ปัจจุบันโปรโตคอลที่นิยมใช้มากที่สุดคือโปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control/ Internet Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ภาพ โปรโตคอล (Protocol): TCP/IP 

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการหรือ OS ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ก็จะรันโปรแกรมต่างๆ ไม่ได้ ระบบเครือข่ายก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS เพื่อทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย และการเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ฐานข้อมูล เป็นต้น


การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล คือ การโอนถ่าย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล(Transmission) กันระหว่างต้นทางกับปลายทางโดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยอุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการถ่ายโอนหรือเคลื่อนย้ายข้อมูล รวมทั้งยังต้องอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ข้อมูล (Sender) และ ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)  มี 2 ชนิด คือ
  1.1 DTE (Data Terminal Equipment)
  1.2 DCE (Data Communication Equipment)
2. โปรโตคอล (Protocol) หรือซอฟต์แวร์ (Software)
3. ข่าวสาร (Message)
4. สื่อกลาง (Medium)


ภาพ การสื่อสารข้อมูล
สื่อกลางส่งข้อมูล
           สื่อกลางส่งข้อมูล ประกอบด้วยวัสดุและรวมถึงการนำเทคนิคต่างๆ มาใช้เพื่อนำส่งสัญญาณ  โดยสื่อกลางส่งข้อมูลอาจเป็นได้ทั้งแบบมีสายสัญญาณหรือเคเบิลต่างๆ รวมถึงสื่อกลางแบบไร้สาย เช่นคลื่นวิทยุ อินฟราเรด หรือดาวเทียม เป็นต้น 
1. สื่อกลางส่งข้อมูลแบบใช้สาย
          สื่อกลางชนิดนี้จะใช้สายเพื่อการลำเลียงข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งประกอบด้วยสายเคเบิลชนิดต่างๆ เช่น สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง
  1.1 สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pare cable)
           สื่อกลางชนิดนี้จะใช้สายเพื่อการลำเลียงข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งประกอบด้วยสายเคเบิลชนิดต่างๆ เช่น สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง 

แบ่งเป็น 2 สาย คือ
1.UTP ไม่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน
2.STP แบบที่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน



1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)

           สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติก กั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลกว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า




1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
     ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสง       เลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับ ความเร็วของแสง
2. สื่อกลางส่งข้อมูลแบบไร้สาย
  สื่อกลางชนิดนี้จะใช้ลำเลียงข้อมูลผ่านอากาศซึ่งภายในอากาศจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยคลื่นดังกล่าวจะมีทั้งคลื่นความถี่ต่ำและคลื่นความถี่สูง ดังแสดง ดังรายละเอียดต่อไปนี้


2.1 คลื่นวิทยุ (Cellular Radio)
ลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ และยังไม่รวมถึงการแพร่บนระยะทางสั้นๆ
2.2 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave)
  การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ (สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่งแต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30 - 50 กม.


2.3 สัญญาณดาวเทียม (Satellite)
ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัปลิงค์" และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณ ดาวน์ลิงค์"


2.4 สัญญาณบลูทูธ (Bluetooth)
ลักษณะของบลูทูธเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1998 ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูล 2.5 GHz. สื่อสารได้ในระยะทางไม่เกิน 10 เมตร สื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์ได้
2.5 อินฟราเรด (Infrared)
ลักษณะของแสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นไมโครเวฟตรงที่การส่งสัญญาณเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตาเหมือนกัน คลื่นอินฟราเรดนิยมนำมาใช้งานสำหรับการสื่อสารระยะใกล้ โดยมีอุปกรณ์หลายชิ้นในปัจจุบัน เช่น รีโมตคอนโทรล คอมพิวเตอร์ และรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ และกล้องดิจิทัล

2.6 สัญญาณไวเลส (Wireless)
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน 

ประเภทของเครือข่า
  เครือข่ายเป็นระบบสื่อสารข้อมูลที่ถูกออกแบบให้มีการใช้ทรัพยากรเครือข่ายร่วมกัน โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่   3 วิธี
1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์
2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์
3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์

ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN)
LAN (Local Area Network) เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือ เกือบทุกๆ เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่ายแบบ LAN อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณ ไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน เช่น มีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยๆ เครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอีกมาก



เครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Network: MAN)  เครือข่ายแมนเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายแลน เป็นเครือข่ายในเขตเมืองครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอหรือจังหวัดเดียวกัน โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น การต่อคอมพิวเตอร์ของสาขาต่างๆ ในเขตเมืองเพื่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กร
เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network: WAN)
  เครือข่ายบริเวณกว้างหรือ WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน

ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้ 2 ประเภท
เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์  (Peer to Peer Network)
    เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน

เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Network)
  เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือนๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่างๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ 
แบ่งตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล แบ่งออกได้ 3 ประเภท
อินเทอร์เน็ต (Internet)
             เครือข่ายสาธารณะหรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ 
อินทราเน็ต (Intranet)
      เครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท
  อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ต
เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet)
    เครือข่ายร่วม หรือเอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสอง องค์กรจะต้องตกลงกัน 

แบบอ้างอิง OSI (OSI Reference model)
    OSI (Open Systems Interconnect) Model เป็นแบบจำลอง ที่อธิบายถึงโครงสร้างการทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ ที่มีหน้าที่ต่างๆ กัน โดยได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นในปี 1984 โดย Open Systems Interconnect
Layer1: Physical Layer
  เป็นเลเยอร์ล่างสุดสำหรับจัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และกลไกการทำงานในการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย
Layer2: Data Link Layer
  เป็นเลเยอร์สำหรับการจัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่าย และตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นใน Physical Layer


Layer4: Transport Layer
เป็นเลเยอร์ที่ทำหน้าที่จัดเตรียมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานจัดเตรียมข้อมูลที่เชื่อถือได้ให้กับเลเยอร์ถัดไป
Layer3: Network Layer
เป็นเลเยอร์ที่จัดเตรียมหน้าที่และกระบวนการในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางภายในเครือข่าย
Layer5: Session Layer
     เป็นเลเยอร์ที่ควบคุมเซสชั่น (Session) การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จัดการการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งแบบ Full-duplex, Half-duplex และ Simplex 
Layer6:  Presentation Layer
         เป็นเลเยอร์สำหรับจัดเตรียมการรับและจัดโครงสร้างของข้อมูล เพื่อส่งต่อให้
เลเยอร์ถัดไป โดยอาจมีการแปลข้อความที่ได้เป็นโค้ด หรือมีการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
Layer7: Application Layer
เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นการจัดเตรียมแอพพลิเคชั่นไว้ให้คอยบริการใช้งานรูปแบบต่างๆ บนเครือข่าย
มาตรฐาน IEEE
IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) เป็นองค์กร สากลที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการประกาศมาตรฐานต่างๆ ไว้มากกว่า 900 มาตรฐาน 







มาตรฐานที่เราพบได้บ่อยๆ คือ มาตรฐาน IEEE 802.3 ซึ่งใช้กำหนดมาตรฐานของรูปแบบเครือข่ายใน Ethernet LAN โดยมีการปรับปรุงและพัฒนามาอย่างต่อเรื่อง เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1983 ที่ทาง IEEE ได้ออกมาตรฐาน IEEE 802.3 ขึ้นมาสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 10BASEs ความเร็วในการรับส่งข้อมูล 10 Mbps และใช้สายโคแอคเชียล (Coaxial) แบบหนาในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย
นอกจากนั้นปัจจุบันเทคโนโลยี Ethernet ยังมีการพัฒนาไปถึงระดับ 10 Gbps Ethernet หรือความเร็ว 10 เท่าของ Gigabit Ethernet โดยใช้ชื่อมาตรฐานว่า IEEE 802.3ae ใช้สายไฟเบอร์ในการเชื่อมต่อ

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://eclassnet.kku.ac.th//etraining/user/thaibannok/237211/237211/Chapter-01.ppt
  (สืบค้นวันที่่ 12 มิถุนายน 2555 )
http://eclassnet.kku.ac.th//etraining/user/thaibannok/237211/Chapter-02new.ppt
(สืบค้นวันที่่ 12 มิถุนายน 2555 )
http://eclassnet.kku.ac.th//etraining/user/thaibannok/237211/Chapter-03-1.ppt
(สืบค้นวันที่่ 12 มิถุนายน 2555 )
http://eclassnet.kku.ac.th//etraining/user/thaibannok/237211/Chapter-04.ppt
(สืบค้นวันที่่ 12 มิถุนายน 2555 )
http://eclassnet.kku.ac.th//etraining/user/thaibannok/237211/Chapter-05-1.ppt
 (สืบค้นวันที่ 15 มิถุนายน 2555 )